วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือเรียกสั้นๆ ว่า "อยุธยา" ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นเมืองหลวงเก่าของไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระราคมธิบดีที่ 1 ในเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง นับเป็นราชธานีของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย



ภูมิประเทศ
อยุธยาเป็นที่ลุ่ม ไม่มีภูเขา แต่มีแม่น้ำสายใหญ่คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกันในลักษณะล้อมรอบเมือง ตัวจังหวัดเป็นเกาะที่มีบ้านเรือนปลูกเรียงรายหนาแน่นตามสองข้างฝั่งแม่น้ำ อยุธยาห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 76 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,556 ตรกม. การปกครอง มี 16 อำเภอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอท่าเรือ และอำเภอวังนัอย



อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสระบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี


ตลอดระยะเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้เพียงเป็นช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของชนชาติไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวลมนุษย์ชาติ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะถูกทำลายเสียหายจากการสงครามจากประเทศเพื่อนบ้านและจากน้ำมือการบุกรุกขุดค้นของพวกเรากันเองแล้ว ส่วนที่ปรากฏ ในปัจจุบันนี้ยังมีร่องรอยหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นอัจฉริยภาพ และความสามารถยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษแห่งราชอาณาจักรผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรือง ทางศิลปวัฒนธรรมและความมั่งคั่งไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทยหรือแม้แต่ชาวโลกทั้งมวล ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า ยูเนสโก้(UNESCO) โดยคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งใจกลางกรุงศรีอยุธยาที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ซึ่งจะมีผลให้ได้รับความคุ้มครอง ตามอนุสัญญาที่ประเทศต่างๆ ได้ทำร่วมกัน จึงสมควรที่อนุชนคนรุ่นหลังน่าที่จะ ได้ไปศึกษาเยี่ยมชมเมืองหลวงเก่าของเราแห่งนี้ สถานที่ท่องเที่ยวของพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถานได้แก่ วัดและพระราชวังต่างๆ พระราชวังในพระนครศรีอยุธยามีอยู่ 3 แห่ง คือ พระราชวังหลวง วังจันทรเกษมหรือวังหน้า และวังหลัง นอกจากนี้ยังมีวังและตำหนักซึ่งเป็นที่สำหรับเสด็จประพาสอยู่นอกพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ พระราชวังบางปะอิน และตำหนักนครหลวง ที่อำเภอนครหลวง

เทศกาลอยุธยา
งานแสดงแสงเสียงอยุธยามรดกโลก เนื่องจากนครประวัติศาสตร์พระครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศโดยองค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลก ทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ทางจังหวัดจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองทุกปี ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นระยะเวลา 7 วัน ในงานจะมีการแสดงชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปหัตถกรรม วัฒนธรรมและประเพณีของไทย รวมทั้งการแสดง แสงเสียงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา


งานประจำปีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดเป็นประจำทุกปี ปลายเดือนมกราคมภายในบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร มีการแสดง และประกวดผลงานด้านศิลปาชีพ สินค้าพื้นเมืองทั่วไป การแสดงศิลปวัฒนธรรมอันงดงามงานเทศกาลสงกรานต์ จัดในวันที่ 13 เมษายน เป็นประจำทุกปี หน้าวิหารพระมงคลบพิตร อำเภอพระนครศรีอยุธยามีขบวนแห่ตามประเพณีของชาวอยุธยาและ ขบวนแห่เถิดเทิง สรงน้ำพระมงคลบพิตรจำลอง ประกวดนางสงกรานต์พิธีไหว้ครูบูชาเตา เป็น "พิธีไหว้ครู" ช่างตีมีดตีดาบ ของชาวบ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนอง และบ้านสาไล ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง ซึ่งมีอาชีพในการตีมีดที่รู้จักกันทั่วไปว่า "มีดอรัญญิก" บรรพชนของชาวบ้าน ไผ่หนองและบ้านต้นโพธิ์ ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวงนั้นเป็นชาวเวียงจันทน์ เข้ามาตั้งรกรากอยู่ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีอาชีพในการตีทองและตีเหล็ก แต่ต่อมาเลิกทำทอง จึงเหลือแต่ การตีเหล็กอย่างเดียว เหล็กที่ตีนี้ส่วนใหญ่ทำเป็นมีด ดาบ และอาวุธ ตลอดจนเครื่องใช้อื่นๆ ซึ่งมีคุณภาพดีมากเมื่อทำเสร็จแล้วก็นำมาขายที่หมู่บ้านอรัญญิก ตำบลปากท่า อำเภอท่าเรือ จึงเรียกว่ามีด "อรัญญิก" สิ่งที่ชาวตำบลท่าช้างทุกคนยังคงถือสืบต่อมาตามขนบประเพณีเดิมคือการ "ไหว้ครูบูชาเตา" ซึ่งทุกบ้านจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 7 ค่ำ 9 ค่ำ ฯลฯ เดือน 5 (ประมาณเมษายน-พฤษภาคม) ตามแต่ความสะดวก เพื่อระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์และเพื่อความเป็นสิริมงคลของตน ทั้งยังเป็นการปัดเป่าอุปัทวเหตุต่างๆ ในการตีเหล็กอีกด้วยงานลอยกระทงตามประทีปและแข่งเรือยาวประเพณีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดเป็นประจำทุกปี ปลายเดือนพฤศจิกายน ภายในบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทรมีการประกวดนางนพมาศ ประกวดขบวนแห่ ประกวดกระทง ประกวดโคมแขวน การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน การแข่งเรือยาวประเพณี เรือยาวนานาชาติ การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ


ของฝาก ที่ระลึก จ.อยุธยา
ของฝากอยุธยาตลาดกลางเพื่อเกษตรกร ตั้งอยู่ริมถนนสายเอเซีย หากขับรถข้าม สะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปทางฝั่งตะวันออก ของเกาะเมืองจนถึงถนนสายเอเซีย เลี้ยวซ้ายตรงไปถึงตำบลหันตราทางขวามือ จะพบกับสถานที่ จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิดของจังหวัด เช่น มีดอรัญญิกแท้จากอำเภอนครหลวง พัดสานจากอำเภอบ้านแทรก เครื่องแกะสลักของอำเภอพระนครศรีอยุธยา เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากอำเภอบางปะอิน ปลาร้า ปลาแห้ง และผลไม้กวนทุกชนิด ตลอดจนของขวัญ ของฝากหลากหลายจากทุกอำเภอ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารซึ่งมี กุ้งปลาสดๆ รสชาติอร่อยอยู่หลายร้านบริเวณวิหารพระมงคลบพิตรและบริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร มีร้านค้ามากมายหลายร้าน จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิด เช่น เครื่องจักสานมีดอรัญญิก ผลไม้กวน และขนมชนิดต่างๆ





วัดไชยวัฒนาราม
"พระอารามหลวงคู่เมืองอยุธยา"


วัดไชยวัฒนาราม เป็นพระอาราม หลวงสมัยอยุธยา ที่สร้างขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์แห่งกรุง ศรีอยุธยาองค์ที่ 24 ซึ่งเป็นยุคที่ศาสนาเจริญรุ่งเรือง สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นเมื่อ พ.ศ.2137 ในบริเวณนิวาส ถานของพระราชชนนีเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา วัดตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำ เจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตกของเกาะเมือง ตรงข้ามกับพระตำหนักสิริยาลัย ต.บ้าน ป้อม อ.พระนครศรี อยุธยา



เดิมวัดไชยวัฒนาราม มีชื่อว่า “วัดชัยวัฒนาราม” ซึ่งสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือกรุงละแวก (พนมเปญในสมัยนั้น) จึงใช้คำว่า “ชัย” ที่หมายถึงชัยชนะ แต่ต่อมาได้เปลี่ยน เป็น “วัดไชยวัฒนาราม” เพราะคำว่า “ ไชย” หมายถึงไชโย เป็นการประกาศความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และครอบคลุม รวมทั้งหมดรวมถึงชัยชนะ ด้วย
สำหรับการสร้างวัดนั้น สมเด็จพระเจ้าปราสาททองซึ่งเป็น กษัตริย์สมัยอยุธยาตอนปลายทรงสร้างปรางค์ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด เท่ากับเป็น การรื้อฟื้นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด เนื่องจาก พระองค์ทรงได้เมืองเขมรมาอยู่ใต้อำนาจ จึงได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมขอมเข้ามาใช้ใน การสร้างพระปรางค์ของวัดไชยวัฒนารามนี้ด้วย โดยตั้งใจจำลองแบบมาจากปราสาทนคร วัด ในประเทศ กัมพูชา

พระปรางค์ประธานนั้นมีชื่อว่า “พระปรางค์ศรี รัตนมหาธาตุ” ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่มุมฐานมีปรางค์ทิศ ประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมี หลังคา แต่ปัจจุบันพังทลายลงมาแล้ว ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทรายที่เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ เป็นเสมือนกำแพง เขตศักดิ์สิทธิ์ แต่ปัจจุบันพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยเหล่านั้นนั้นไม่มี เศียร เพราะถูกขโมยตัดเศียรไปขาย และหาสมบัติที่เล่ากันว่าซ่อนอยู่ภายในพระพุทธ รูป
และที่แปลกจากวัดอื่นๆอีกก็คือที่นี่มีใบเสมาที่ทำด้วยหินสี เขียว ซึ่งคล้ายกับหินดินดำแต่มีสีเขียว แกะสลักเป็นลวดลายประจำยาม 4 แฉกเหมือน ดอกไม้ นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถที่สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอก ระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้างๆมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง และมีปรางค์เจดีย์ ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นมาในภายหลัง




ความสำคัญของวัดนี้นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสวยงามและมีการ ก่อสร้างไม่เหมือนวัดอื่นๆแล้ว วัดนี้ยังเป็นที่ฝังศพของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง พระราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและกวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลาย และเจ้าฟ้าสังวาลย์ ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวบรมโกศ เนื่องจากเจ้าฟ้ากุ้งไปรักกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ พระชายาในพระเจ้าอยู่ หัวบรมโกศ คนกรุงเก่าเล่าว่า เพลาใดที่เป็นคืนเดือนเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงอาจจะ ได้เห็นชายหญิงแต่เครื่องกษัตริย์มาเดินอยู่ในวัดแห่งนี้
และยังมีเรื่องเล่ากันว่า สมัยก่อนคนมักศึกษาด้านไสยศาสตร์ คาถาอาคม และเมื่อคราวก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่าย ตั้งรับศึก ทหารที่ต้องออกศึกสงครามก็เป็นห่วงครอบครัว ลูกเมียที่บ้าน เกรงว่า จะเกิดภัยอันตรายจึงได้ใช้คาถาอาคมผนึกบ้านเรือนของตนไว้ พรางตามิให้ข้าศึก ศัตรูเห็นได้ ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านในละแวกวัดไชยฯ ก็เคยเห็นทหารใส่ชุดนักรบ โบราณปรากฏตัวให้เห็นบ่อยครั้ง บ้างก็ถ่ายรูปที่วัดไชยฯ แล้วติดรูปหญิงสาวในชุดไทย จนเรื่องเล่าเหล่านี้ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครเรื่อง “ เรือนมยุรา” ซึ่งจะจริงแท้ประการใดก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล




แต่อย่างไรก็ตาม วัดไชยวัฒนารามแห่งนี้ก็ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอยุธยา ที่ยังคงความงดงามและเสน่ห์ของพระอาราม เมืองกรุงเก่าไว้เช่นเดิม


บทที่13 แนวโน้มและรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

แนวโน้มทางการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)



การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมายถึง การกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสุนทรียภาพแก่สมาชิกของสังคมในปัจจุบันและอนาคต โดยใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างชาญฉลาด สามารถรักษาเอกลักษณ์ของธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป

แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน


สามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 4 ประการคือ
- การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
- การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีต่อการท่องเที่ยว
- การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ การคงอยู่ของสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ
- เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้นๆ
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมจัดทำและร่วมได้รับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค


ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


- เพื่อให้การใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด
- เพื่อรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
- เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดกับทรัพยากรท่องเที่ยวทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable)
- ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย (Reducing Over-Consumption and Waste)
- รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม (Maintain Diversity)
- การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning)
- ต้องการนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Supporting Local)
- การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น(Involving Local Communities)
- ประชุมปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน (Consulting Stakeholders and the Public)
- การพัฒนาบุคลากร (Training Staff)
- จัดเตรียมข้อมูลคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม( Marketing Tourism Responsibly)
- ประเมินผล ตรวจสอบและวิจัย (Undertaking Research)

ขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) หมายถึง ปริมาณการใช้ประโยชน์พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่พื้นที่นั้นสามารถจะแบกรับไว้ได้ ก่อนที่จะเกิดความเสื่อมโทรมขึ้นกับพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นขีดความสามารถในการรองรับของทรัพยากรท่องเที่ยวจึงวัดได้ด้วยปริมาณนักท่องเที่ยวสูงสุดที่สามารถอยู่ได้ในทุกเวลา ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวหนึ่งๆ ในปริมาณที่จะทำให้สภาพแวดล้อมถูกทำลายน้อยที่สุด ยังคงรักษาสภาพความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีไว้มากที่สุด โดยนักท่องเที่ยวมีความพอใจและได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสม รวมถึงความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในท้องถิ่นด้วย

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism)


สมาคมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ( The International Ecotourism Society)ได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศว่า
Eco Tourism: Responsible Travel to natural areas that conserves the environment and improves the well-being of local people
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้คำนิยามว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน


การท่องเที่ยวนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ
- เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
- เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ
- มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ
- มีการจัดการด้านการให้ความรู้
- มีความรับผิดชอบโดยผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว
- เป็นการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลินและประทับใจ

กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนั้นมีอยู่หลายแบบ สามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
กิจกรรมหลัก 10 ประเภท ได้แก่

1. กิจกรรมการเดินป่า (Hiking/ Trekking)
2. กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ (Nature Education)
3. กิจกรรมถ่ายรูปธรรมชาติ บันทึกเทปวิดีโอ เทปเสียงธรรมชาติ (Nature Photography, Video Tapping And Sound of Nature Audio Taping)
4. กิจกรรมส่อง/ ดูนก (Bird Watching)
5. กิจกรรมศึกษา/ เที่ยวถ้ำ (Cave Exploring/ Visiting)
6. กิจกรรมศึกษาท้องฟ้าและดาราศาสตร์ (Sky Interpretation)
7. กิจกรรมล่องเรือศึกษาธรรมชาติ (Boat Sightseeing)
8. กิจกรรมพายเรือแคนู/ เรือคายัค/ เรือบด/ เรือใบ (Canoeing/ Kayak/ Browbeating)/ Sailing)
9. กิจกรรมดำน้ำชมปะการังน้ำตื้น (Snorkel Skin Diving)
10. กิจกรรมดำน้ำลึก (Scuba Diving)

กิจกรรมเสริม 9 ประเภท ได้แก่

1. กิจกรรมชมทิวทัศน์ธรรมชาติในบรรยากาศที่สงบ (Relaxing)
2. กิจกรรมขี่จักรยานตามเส้นทางธรรมชาติ (Terrain/ Mountain Biking)
3. กิจกรรมปีน/ ไต่เขา (Rock/ Mountain Climbing)
4. กิจกรรมพักแรมด้วยเต็นท์ (Tent Camping)
5. กิจกรรมเครื่องร่อนขนาดเล็ก (Hang Glider)
6. กิจกรรมล่องแพยาง/ แพไม้ไผ่ (White Water Rafting)
7. กิจกรรมพักผ่อนรับประทานอาหาร (Picnicking)
8. กิจกรรมเที่ยวน้ำตก (Waterfall Visits/ Exploring)
9. กิจกรรมวินด์เซิร์ฟ (Windsurfing)


การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agrotourism)

เป็นการท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการเกษตรเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งมีการวางแผนป้องกันและวางแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ

ลักษณะสำคัญ
- เป็นการท่องเที่ยวที่มุ่งความสนใจไปยังกิจกรรมการเกษตรหรือสภาพแวดล้อมทางการเกษตรเป็นหลัก
- เป็นการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ทางการเกษตรเป็นหลัก
- เป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน
- เป็นการท่องเที่ยวที่มีกลไกกระจายรายได้ไปยังเกษตรกร
- เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกรในด้านของกระบวนการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
- เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ การสร้างเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติของท้องถิ่น

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร


- การกสิกรรม หมายถึงการประกอบพืชไร่ พืชสวน


- การประมง ได้แก่ กิจกรรมการเพาะเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำ


- การปศุสัตว์



การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)


การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหมายถึง การท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพและการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
1. การท่องเที่ยวเพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว
2. การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว
3. การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวให้ดีขึ้น


ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร

บทที่12 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)


คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ

รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ



1. รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน “จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือแบบตัวต่อตัวเท่านั้น” (one to one)

2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ(ATMs)เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ “จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกหลายๆที่” (one to many)

ปัจจุบันนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยปราศจากข้อจำกัดโดยเป็นแบบ“จากทุกๆที่” (many to many) ซึ่งต่อมารูปแบบได้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า อินเตอร์เน็ต (internet)

เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่หันมาใช้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น

คือการที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคาที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทนจำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ ทำให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่าง การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ VS อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

Customer Loyalty
Electronic mail
Discussion Forum/ Web-board
E-Newsletter

- ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์



- http://www.airasia.com/







ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การนำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
- การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
- การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
- การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต


ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร

บทที่11 องค์กรที่กี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
- องค์กรระหว่างประเทศ
- องค์กรภายในประเทศ


องค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
World Tourism Organization : WTO

จุดมุ่งหมายเพื่อ
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ สันติภาพ ความมั่งคั่ง โดยเคารพหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และเพศ
2. เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อ ประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว
3. เพื่อดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ องค์การจึงสร้าง และธำรงไว้ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การ สหประชาชาติ โดยองค์การจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICOA)



มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในปี 2487 (ค.ศ.1944) ปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก
องค์การนี้มีสำนักงานสาขาประจำภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิกในประเทศไทยโดยตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต (ติดกับสวนจตุจักร) ลาดพร้าว กรุงเทพฯ


องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD)




ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1960 ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส องค์กรนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกล่าว คือ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นผู้ดำเนิน การจัดประชุมประเทศสมาชิก เพื่อปรับปรุงวิธีการทางสถิติของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและระบบบัญชีองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนายังได้จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อว่า “Tourism Policy and International Tourism in OECD Member Countries”


องค์กรระดับอนุภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน (Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น


องค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน
World Travel and Tourism Council : WTCC
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก
Jean-Claude Baumgarten
สมาชิกของสภาจะเป็นองค์การที่ได้รับการเชิญให้เป็นสมาชิกเท่านั้น โดยการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดูที่ว่าเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ รวมทั้งเป็นองค์การที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก หรือระดับภูมิภาคหรือไม่ เช่น สายการบิน โรงแรม ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจนำเที่ยว หรือธุรกิจให้เช่ารถ เป็นต้น
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกมีพันธกิจในการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ดังนี้
1. การดำเนินงานตามวาระการประชุม การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว และชักชวนรัฐบาลให้คำนึงถึงความสำคัญของการสร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยว
2. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจ คาดหวัง แปลความหมาย และดำเนินงานการพัฒนาภูมิหลักของโลก
3. การสร้างเครือข่ายสภา สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกเป็นสภาของผู้นำทางธุรกิจที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยวอยากเข้ามามีส่วนร่วม



International Congress and Convention Association: ICCA
สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ
สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการระหว่างประเทศ และเป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการจัดบริการด้านที่พัก การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประชุมและการจัดนิทรรศการ


องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน

The Pacific Asia Travel Association :PATA
มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นดินแดนเพื่อการพักผ่อน เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของโลก และให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแปซิฟิก
วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
1. เป็นสื่อกลางแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการส่งเสริม และการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิก และช่วยหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับที่พัก และการพักผ่อนหย่อนใจ
3. การประสานงานระหกว่างสมาชิกทั้งมวลกับวงการอุตสาหกรรมขนส่ง และธุรกิจการท่องเที่ยว
4. การดำเนินการโฆษณา ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะที่เป็นภูมิภาคที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนแห่งหนึ่งของโลก
5. การส่งเสริมให้มีการบริการ และการอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งทั้งที่เข้ามา และภายในภูมิภาคแปซิฟิกให้พอเพียง
6. การดำเนินการด้านสถิติ และค้นคว้าวิจัยแนวโน้มของการเดินทางท่องเที่ยว และการพิจารณาของการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล


ASEAN Tourism Association : ASEANTA
สมาคมท่องเที่ยวอาเซียน
เป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรวมให้สมาชิกมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการประสานความร่วมมือ มิตรภาพ ตลอดจนความช่วยเหลือต่อกัน
2. เพื่อรักษาระดับของมาตรฐานการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยว
3. รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและคุณธรรมของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อคงไว้ซึ่งงานอาชีพแขนงหนึ่ง
4. สนับสนุนและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน
5. กระตุ้น สนับสนุน และช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน
6. ประสานงานและให้คำแนะนำแก่สมาคม หน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกหรือเกี่ยวข้องในวงการธุรกิจท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน
7. ให้บริการหรือความช่วยเหลือต่อภาครัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว






American Society of Travel Agents - ASTA
สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา
สมาคมนี้ถือได้ว่าเป็นสมาคมของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นองค์การเดียวที่รวบรวมสมาชิกต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกสาขาไว้ด้วยกัน
ปัจจุบันสมาคมมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
1. วางมาตรการการบริการแก่นักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประสานงานการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
3. ให้ความร่วมมือแก่องค์การระหว่างประเทศ และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
4. ขจัดปัญหาและร่วมอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเป็นส่วนรวม
สำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นั้นเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ.2509


องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย

กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
(Ministry of Tourism and Sport )
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวมีภารกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในการพัฒนามาตรฐาน การบริการด้าน การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการสนับสนุนการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเดิมเป็นภารกิจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้ถ่ายโอนมาให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ยังรับโอนงานพัฒนาและสนับสนุนกิจการภาพยนตร์มาจากกรมประชาสัมพันธ์ด้วย


Thailand Convention and Exhibition Bureau
เป็นองค์การมหาชนของรัฐ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2545 ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) นานาชาติในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นสถานที่สำคัญในการจัดกิจกรรมดังกล่าว

องค์กรภาคธุรกิจเอกชน
สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents :ATTA)
สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association: TTAA)
สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวแห่งประเทศไทย (สนท. The Association of Thai Tour Operators: ATTO)
สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (สมอ. Professional Guide Association Thailand : PGA

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรภาคเอกชน จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ดังนี้

-เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงานอย่างมีระบบ ระหว่างรัฐกับเอกชนด้วยกัน
-ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
-ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีระบบการรับรองคุณภาพ ระบบมาตรฐาน และระบบประกันคุณภาพของธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการสำหรับนักท่องเที่ยว
-ควบคุมดูแลให้สมาชิกผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวดำเนินการอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณ
-ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง อบรม และเผยแพร่วิชาการและเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้แก่สมาชิก หรือจัดเป็นบริการบุคคลทั่วไป
-ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไปทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-เสนอความเห็นหรือให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว
-ให้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม กิจการด้านการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างสมาชิกด้วยกัน
-ศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ดำเนินกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร

บทที่10 กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และด้วยเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จึงจำเป็นต้องมีกฏหมายต่างๆ เพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ตระหนักและถือปฎิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เติบโตและสามารถแข่งขันในตลาดโลกภายใต้กฎกติกาขององค์การการค้าโลก
สำหรับกฏหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. กฏหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป มีกฏหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
- พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
- พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545

- พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544

- พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546

2. กฏหมายควบคุมนักท่องเที่ยว


- พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 2533 และ 2542

- พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548

3. กฏหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว มีกฏหมายสำคัญ 17 ฉบับ ได้แก่



- พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504

- พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ถึง 2546

- พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 2522 และ 2528

- พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 2522 และ 2525

- พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 2522 และ 2534

- ประมวลกฏหมายที่ดิน พ.ศ. 2520

- พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485

- พระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.ศ. 121

- พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และ 2535

- พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528

- พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฏหมาย ร.ศ.128

- พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 และ 2528

- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 2522 และ 2535

- พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชานเมือง พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 2525 และ 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 2535 และ 2543

4. กฏหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว มีกฏหมายสำคัญจำนวน 22 ฉบับ ได้แก่



- พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547

- พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 2521 2525 และ 2546

- พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 2537 และ 2544

- พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2520 2534 และ 2544

- พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ถึง 2548

- พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542

- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ 2541

- พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ถึง 2543

- พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2546

- พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2542

- พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ถึง 2547

- กฏหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 259

- พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ถึง 2543

- พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ถึง 2540

- ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการใช้แม่น้ำลำคลอง

- พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 ถึง 2540

- พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ.2522

- พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 ถึง 2542

- การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ถึง 2538



ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร