วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่8 ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การดำเนินธุรกิจให้บริการแก่นักท่องเที่ยว นอกจากจะตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวอันจะทำให้เกิดความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการยังได้รับผลกำไรจากการประกอบการธุรกิจเป็นสิ่งตอบแทน นอกจากนี้ บางโอกาส ธุรกิจท่องเที่ยวเองกอาจเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวได้
นอกจากธุรกิจหลักซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวแล้ว ยังมีธุรกิจอื่นๆดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการบริการด้านต่างๆแก่นักท่องเที่ยว เช่น การบริการด้านอาหารเครื่องดื่ม สถานบันเทิง ร้านขายของที่ระลึก ศูนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแหล่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้โดปกติเอกชนจะเป็นผู้จัดสร้างและดำเนินการในรูปแบบของผู้ประกอบการ แต่ก็มีบางแห่งที่รัฐบาลให้การสนับสนุนดำเนินการ
นอกจากธุรกิจขนส่ง ธุรกิจที่พักแรม และธุรกิจบริการจัดนำเที่ยว ถือว่าเป็นธุรกิจหลักในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้ว ยังมีธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและธุรกิจจำหน่ายินค้าที่ระลึก ธุรกิจนันทนาการ ตลอดจนธุรกิจเสริม ได้แก่ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารและการตลาด รวมถึง การบริการด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในด้านต่างๆอีกด้วย
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
Food and Beverage

หมายถึง การประกอบกิจการให้การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่คนเดินทาง นักท่องเที่ยวหรือประชาชนทั่วไป โดยจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภคได้รับประทานภายในสถานที่ที่ให้บริการ หรืออาจให้บริการบรรจุอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคนำรับประทานที่อื่นได้

ความเป็นมา
-สมัยกรีก-โรมัน มีการขายอาหารในระหว่างการเดินทางไปประกอบกิจกรรมทางศาสนาและการค้า ในสมัยโรมัน มีการเปิดร้านอาหารแบบ Snack Bars ( ที่มาของธุรกิจอาหารจานด่วน –Fast Food)
-ยุคกลาง จำนวนร้านอาหารมีเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่มีคุณภาพ
-ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เกิดแนวคิดเรื่องธุรกิจที่พักอย่างจริงจัง ทำให้การบริการอาหารมีผลกระทบไปด้วย ในศตวรรษที่ 16 มีการนำเข้าชาและกาแฟ ทำให้เกิดห้องดื่มกาแฟ ( Coffee House) และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรป
-ค.ศ. 1765 เกิดธุรกิจอาหารแบบภัตตาคารที่ฝรั่งเศส โดยนายบลูลองเจอร์ (Monsieur Boulanger) เปิดร้านขายซุป ที่ชื่อว่า Restorantes ซึ่งต่อมากลายเป็นที่มาของคำว่า ภัตตาคาร (Restaurant) ซึ่งเน้นการบริการอาหารประเภทกับแกล้มหรืออาหารเบาๆ (Light or Restoring Dishes)
-ค.ศ. 1782 มีภัตตาคารที่แท้จริงชื่อว่า Grande Taverne de Londres ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
-ในอเมริกา มีภัตตาคารแห่งแรกชื่อ Delmonico และร้านอาหารราคาถูก( Eating House) ในนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1827 และ 1848 ตามลำดับ
-ธุรกิจร้านอาหารในยุคหลังๆ มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งรูปแบบและประเภทของอาหาร อาทิเช่น McDonald ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1948


ประเทศไทย
-ยุคแรก เนื่องจากคนไทยนิยมประกอบอาหารไว้รับประทานเองในครัวเรือน ไม่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน แต่สำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร จะมีชุมชนอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง และมีการค้าขายอาหาร ขนมหวานกันภายในชุมชน ดังที่ปรากฏในคำให้การขุนหลวงหาวัด โดยเฉพาะในชุมชน จีน แขก สำหรับเครื่องดื่มมึนเมาต่างๆ ก็ได้รับการนำเข้ามาจากตะวันตกเพื่อส่งให้ยังราชสำนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยอยุธยาตอนกลาง
-ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร้านอาหารที่เปิดส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนที่เปิดในย่านสำเพ็งให้บริการแก่ชาวจีนและประชาชนทั่วไป
-สมัยรัชกาลที่ 4-ปัจจุบัน ประชาชนมีอิสระจากการเลิกระบบทาสและไพร่ ผู้คนมีอิสระในการดำเนินชีวิต ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มยุคนั้นดำเนินควบคู่ไปกับโรงแรม ปัจจุบันธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มได้เกิดขึ้นโดยทั่วไป


ประเภทของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจอาหารจานด่วน ( Fast-Food Restaurants )
-เน้นความสะดวก รวดเร็ว ราคาต่ำไม่บริการเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์เปิดบริการทุกวัน ไม่จำเพาะเจาะจงแต่ร้านที่ดำเนินการแบบการรับรองสิทธิ(Franchising) แต่หมายรวมถึงอาหารตามเชื้อชาติอื่นๆ ที่บริการในรูปอาหารจานเดียว


ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป (Deli Shops)
-เป็นการบริการอาหารสำเร็จรูปที่แช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด และอื่นๆ ที่นั่งในร้านมีจำกัดและระยะเวลาเปิดไม่ยาวนัก มักตั้งอยู่ในทำเลที่ผู้คนหนาแน่น


ธุรกิจอาหารบุฟเฟต์ (Buffets)
-เป็นธุรกิจที่ให้ลูกค้าบริการตนเอง ลูกค้าสามารถตักอาหารได้ทุกประเภท ในปริมาณที่ไม่จำกัด “All you can eat” ในราคาเดียว/หัว ยกเว้นแต่เครื่องดื่มที่จะบริการให้ที่โต๊ะ ธุรกิจประเภทนี้ได้รับความนิยมในโรงแรม โดยเฉพาะการจัดบริการอาหารในมื้อเที่ยง และค่ำ สำหรับลูกค้าภายในและภายนอก


ธุรกิจประเภทคอฟฟี่ช้อพ (Coffee Shops)
-เน้นการบริการที่รวดเร็ว การให้บริการอาหารจะอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการ ราคาไม่แพงมาก มักจะตั้งอยู่ในสถานที่ชุมชน อาคารกึ่งสำนักงาน หรือศูนย์การค้า ที่มีคนผ่านไปมาจำนวนมาก


ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias)
- เป็นธุรกิจที่ลูกค้าต้องบริการตนเอง รายการอาหารมีจำกัด เน้นความรวดเร็ว สถานที่ให้บริการกว้างขวางเพื่อรองรับลูกค้าจำนวนมากในช่วงเวลาเร่งด่วน



ธุรกิจร้านอาหารกูร์เมต์ (Gourmet Restaurants)
-เป็นธุรกิจที่เน้นบริการในระดับสูงในทุก ๆ ด้าน เน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการการบริการระดับสูง เป็นธุรกิจที่ใช้ทุนค่อนข้างมากเพื่อรักษาชื่อเสียง และรักษารวมทั้งดึงดูดกลุ่มลูกค้า

ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ(Ethic Restaurants)
-เน้นการให้บริการอาหารประจำท้องถิ่น หรือประจำชาติ พนักงาน การตกแต่งร้านก็มีลักษณะเน้นจุดเด่นลักษณะประจำชาติเช่นเดียวกัน

อาหารไทย ( Thai Food)


จะมีรสชาติผสมผสาน มีทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เครื่องเทศต่างๆ มักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร แบ่งออกเป็น
1. อาหารที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง เครื่องเทศ จากอินเดีย การผัดโดยใช้น้ำมันมาจากประเทศจีน ของหวานจำพวก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง มาจากโปรตุเกส เป็นต้น
2. อาหารที่ต้องใช้ความประณีตในการประดิษฐ์ อาทิเช่น การแกะสลักผักผลไม้ ขนมช่อม่วง ลูกชุบ ข้าวแช่
3. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม อาทิ น้ำพริกต่างๆ น้ำปลาหวานสะเดา
4. อาหารว่างและขนม อาทิ กระทงทอง บัวลอย ขนมลืมกลืน ขนมขี้หนู ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมสอดไส้ เป็นต้น

ภาคเหนือ


เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธรรมชาติ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาหารส่วนใหญ่จะยังคงใช้พืชตามป่าเขา หรือที่เพาะปลูกไว้มาปรุงอาหาร โดยมีแบบเฉพาะในการรับประทานเรียกว่า “ขันโตก” อาหารทางเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล เพราะความหวานจะได้จากพืชผักต่างๆ จากการต้ม การผัด อาหารภาคเหนือที่รู้จักกัน อาทิ น้ำพริกหนุ่มมีเครื่องแนมคือแคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล ไข่มดส้ม เป็นต้น

ภาคใต้


เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ติดทะเล อาหารหลักมักเป็นอาหารทะเล พวกกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งโดยปกติจะมีกลิ่นคาว จึงมักใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่น จึงมีรสเผ็ดร้อน เค็ม และเปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน มีอาหารหลายประเภทที่นิยมรับประทานกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อน เรียกว่า “ผักเหนาะ” หรือ “ผักเกร็ด”
อาหารทางภาคใต้ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่ร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินเป็นดินร่วนปนทราย เก็บน้ำไม่ได้ดี แต่มีผักพื้นบ้านต่างๆ อาทิ ผักหูเสือ แคป่า ผักจิก นิยมเลี้ยงสัตว์ประเภทวัว ควาย ดังนั้นจึงนิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ สัตว์อื่นๆ ที่มีในธรรมชาติก็นำมาประกอบอาหารเช่นกัน อาทิ มดแดง ตั๊กแตน แมงดานา โดยทั่วไปอาหารจะมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม จึงมีการถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆ อาทิ ปลาร้า เนื้อเค็ม เป็นต้น
อาหารที่เป็นที่นิยม อาทิ ส้มตำต่างๆ แกงอ่อม ต้มเปรอะ

การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service Operations)

การดำเนินงานด้านการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบกลุ่มธุรกิจ หรือการขอรับสิทธิในการดำเนินธุรกิจเพราะประสบความสำเร็จในระดับสูงอยู่แล้ว เนื่องจาก
-มีประเภทของอาหารไม่มาก ทำให้เกิดอำนาจในการต่อรองในการซื้อวัตถุดิบและมีการสูญเสียน้อย การควบคุมทำได้ทั่วถึง
- ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
-ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงานสูง เพราะมีการฝึกอบรมเป็นอย่างดี
-ภาชนะใส่อาหารมักเป็นแบบใช้ครั้งเดียว ลดภาระเรื่องการล้างทำความสะอาด
-มีความชำนาญด้านอาหารเป็นอย่างดี

สำหรับอาหารที่มีไว้บริการในโรงแรม ส่วนมากเป็นแบบตะวันตก แบ่งเป็นมื้อได้ดังนี้


อาหารเช้า Breakfast คืออาหารที่รับประทานช่วง 8.00-9.00 น.
-อาหารเช้าแบบยุโรป (European Breakfast) ประกอบด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนย กาแฟน ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
-อาหารเช้าแบบอเมริกัน (American Breakfast) ประกอบด้วย น้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วย ชา กาแฟ

อาหารก่อนกลางวัน (Brunch) รับประทานช่วงเวลา 9.30-11.30 น. หนักกว่ามื้อเช้า
อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)

อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea) ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้
อาหารเย็น ( Dinner) เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entress) ประเภทอาหารทะเล
-อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
-ของหวาน (Dessert)
-ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)
อาหารมื้อดึก (Supper) เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก
การจัดการและการตลาด (Management and Marketing)
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับภาวการณ์แข่งขันมีค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการต้องพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย โดยใช้หลักการตลาดและส่วนผสมทางการตลาดในทุกๆ ด้านดังนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหารและบริการ ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและถูกหลักอนามัย
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของอาหาร โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การให้บริการ ต้องหมั่นสำรวจตลาด และคู่แข่งเสมอ
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีใด อาทิสถานที่ตั้ง บริการส่งถึงที่ เป็นต้น
4. การส่งเสริมการขาย (promotion) ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทนำเที่ยว หรือตัวแทนการท่องเที่ยว สายการบิน องค์กรการท่องเที่ยวต่างๆ หรืออาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม อาทิ สมาคมภัตตาคาร (restaurant association)

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก Shopping and Souvenir Business

ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยว
ความเป็นมา
การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยโบราณจะกระทำในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างของกับของ หรือที่เรียกว่า Barter System ต่อมาเมื่อมีการนำเอาใช้โลหะมีค่า มากำหนดค่าและใช้เป็นสื่อกลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยน ระบบBarter System จึงค่อยๆ เลิกไป
สถานที่ที่เกิดกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
อาจมีพัฒนาการมาตั้งแต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเมื่อมีผู้ที่มีความต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการนั้น อาจไม่จำกัดสถานที่ เมื่อมีทั้งผู้ต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดบริเวณที่สามารถรวมเอาทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมากมาไว้ที่เดียว หรือ ตลาดเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการเลือกซื้อสินค้า
ห้างสรรพสินค้า เป็นรูปแบบของธุรกิจการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นจากยุโรปก่อนแล้วค่อยแพร่ขยายเข้ามาสู่ อเมริกา และเอเชียในที่สุด เป็นพัฒนาการของการจำหน่ายสินค้าที่รวมมาอยู่ในบริเวณเดียว มีการจัดสินค้าเป็นแผนก เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมการขาย การบริการลูกค้า

ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ


ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้า มีการปรับเปลี่ยนสินค้าให้ทันสมัยและเหมาะสมตลอดเวลา หรือในบางครั้งห้างสรรพสินค้า อาจขายสินค้าไม่กี่ชนิด เพื่อเป็นการเน้นความเชี่ยวชาญ โดยส่วนมากห้างสรรพสินค้ามักตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน
ห้างสรรพสินค้ายังมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และได้ทำให้หลายๆ ประเทศพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ให้เป็นสวรรค์ของการซื้อสินค้า ( Shopping Paradise)



ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ โรงภาพยนตร์ ธนาคาร ภัตตาคาร


ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง แต่ขายถูก และสินค้าในร้านปลอดภาษีมักเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ

ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า
1.เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น ผ้าไหม น้ำหอม เป็นต้น
2.กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
3.ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
4.ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น


ธุรกิจสินค้าที่ระลึก

คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สินค้าที่ระลึกมักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่น


ลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก
- เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้
- เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
- เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
- เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
- เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
- เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
- เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
- เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้ง่าย

ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย

แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย ทำให้ผลผลิตมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันสามลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นเฉพาะ

แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง มีสามลักษณะได้แก่
- สร้างหรือดัดแปลงจากวัสดุธรรมชาติ - สร้างจากวัสดุสังเคราะห์
- สร้างจากเศษวัสดุ

แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ มีหกลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะตัวอักษร
- รูปลักษณะทรงเรขาคณิต
- รูปลักษณะตามลัทธิและความเชื่อ
- รูปลักษณะธรรมชาติ
- รูปลักษณะผลผลิตและเครื่องมือเครื่องใช้
- รูปลักษณะอิสระ

แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
- ประเภทบริโภค - ประเภทประดับตกแต่ง
- ประเภทใช้สอย - ประเภทวัตถุทางศิลปะ

ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

ทางสังคมและวัฒนธรรม
-สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
-ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
-การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ทางเศรษฐกิจ
-สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
-สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลก

ทางระบบการท่องเที่ยว
-ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
-ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ

ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจนันทนาการประกอบด้วย


ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
- สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน

ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

ปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในศตวรรษที่ผ่านมาคือ ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยวที่สำคัญ 4 ประเภทคือ
- แทรเวล เอเจนซี่

- บริษัททัวร์



- บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว


- บริษัทรับจัดการประชุม

แทรเวล เอเจนซี่


ความหมายของแทรเวล เอเจนซี่
ผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ความหมายของแทรเวล เอเจนซี่ไว้ดังนี้
- แทรเวล เอเจนซี่ หมายถึง ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุมัติให้เป็นตัวแทนขายสินค้าทางการท่องเที่ยว และช่วยเหลือในการวางแผนการท่องเที่ยวให้ลูกค้าด้วย

- หลายคนอาจไม่เข้าใจว่า แทรเวล เอเจนท์ ต่างกับ แทรเวล เอเจนซี่ อย่างไร Foster ให้ความหมายของแทรเวล เอเจนท์ไว้ว่า แทรเวล เอเจนท์ หมายถึง เจ้าของแทรเวล เอเจนซี่ หรือ ผู้ให้คำปรึกษาการท่องเที่ยว


ประวัติความเป็นมา
ในอดีตผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวจะต้องติดต่อซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวโดยตรง ต่อมาจึงเกิดธุรกิจค้าปลีกที่อำนวยความสะดวกในการซื้อขึ้นโดยโทมัส คุก ได้เปิดแทรเวล เอเจนซี่ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2388 ( ค.ศ.1845 ) ณ ประเทศอังกฤษ จึงทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทางไปซื้อยังผู้ประกอบธุรกิจแทรเวล เอเจนซี่จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางและการท่องเที่ยวตั้งแต่นั้นมา

บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่
Airline Reporting Corporation ( ARC ) ให้คำจำกัดความของแทรเวล เอเจนซี่ว่ามีบทบาทหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2. ทำการจอง
3. รับชำระเงิน
4. ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
5. ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
6. ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7. ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ

ประโยชน์ของการใช้บริการ แทรเวล เอเจนซี่
1. มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนการท่องเที่ยว
2. สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
3. ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
4. ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
5. รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
6. รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า

ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่

1. แบบที่มีมาแต่เดิม
- เครือข่าย
- เฟรนไชส์
- คอนซอเตียม
- แบบอิสระ
2. แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต
3. แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
4. แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก

บริษัททัวร์หรือผู้ขายส่งทัวร์ หมายถึง ธุรกิจที่จัดทำทัวร์แบบเหมาจ่าย หรือจัดนำเที่ยว
ทัวร์ หมายถึง รูปแบบของการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนล่วงหน้า (และชำระเงินล่วงหน้า) ซึ่งจะท่องเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งแห่งหรือมากกว่า โดยจะรวมองค์ประกอบของการท่องเที่ยวอย่างน้องสองประเภท หรือมากกว่า เช่น อาจรวมบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบัตรเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

ประโยชน์ของการใช้บริการบริษัททัวร์
1. ประหยัดเวลา
2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ได้ความรู้
4. ได้เพื่อนใหม่
5. ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
6. ไม่มีทางเลือกอื่น

ประเภทของทัวร์
1. อิสระ
2. ไม่มีผู้นำเที่ยว
3. มีผู้นำเที่ยว

การจัดทัวร์แบบอื่นๆ
- การจัดทัศนาจร
- ทัวร์แบบผจญภัย

บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว
- บริการในการจัดการขนส่งภาคพื้นดิน
- บริการจองห้องพัก ห้องอาหารและห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม
- บริการจัดงานเลี้ยงนอกสถานที่ โดยอาจเป็นสถานที่สำคัญและมีชื่อเสียง
- บริการจัดกิจกรรมพิเศษ

บริษัทรับจัดการประชุม
- เลือกสถานที่สำหรับการประชุม
- จองห้องพัก
- จองห้องประชุม และอุปกรณ์สำหรับการประชุม
- ดำเนินการวางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม
- วางแผนโปรแกรมสำหรับผู้เข้าประชุมและผู้ติดตาม
- ประสานงานกับผู้จัดการประชุมของโรงแรมและสถานที่จัด
- ประสานงานกับวิททยากรหรือผู้รับเชิญ
- ดำเนินการวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤต
- บริการด้านการเดินทางและขนส่ง
- ประเมินผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง

ลักษณะของตัวแทนการท่องเที่ยวที่ดี
- เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวให้นักท่องเที่ยวได้
- เป็นนักขาย นักจิตวิทยา มีความรู้ความชำนาญ
- รู้ข้อได้เปรียบเสียเปรียบของการเดินทาง
- จัดหาบริการเดินทางให้เหมะสม
- รู้เรื่องภูมิศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวดี
- อ่านตารางเวลาเข้าออกของยานพาหนะได้อย่างรวดเร็ว
- คิดค่าตั๋ว เขียนตั๋วได้ทุกประเภท มีความรู้ในการสำรองที่นั่งเครื่องบิน หรือที่พักต่างๆ
- มีความรู้เรื่องราคาที่พักโรงแรม คุณภาพ ลักษณะร้านอาหาร
- ตื่นตัว ติดตามข่าวสารบ้านเมืองอยู่ตลอดเวลา



Alphabet code for airline business
A: able
B: baker
C: charlie
D: dog
E: easy
F: fox
G: george
H: how
I: item
J: jimmy
K: king
L: love
M: mike
N: nan nancy
O: oboe
P: peter
Q: queen
R: roger
S:suger
T:tare
U:uncle
V: victor
W: william
X: x-ray
Y: york
Z: zebra


ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร

บทที่6 ที่พักแรม


ความเป็นมาที่พักแรมในสากล/ต่างประเทศ
ที่พักแรมมีมาแต่ยุคโบราณ เกิดขึ้นสนองความต้องการที่พักของนักเดินทางที่ไม่สามารถไปกลับได้ในวันเดียว ในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ในยุโรป ความเจริญทางเศรษฐกิจในประเทศต่างๆทำให้ปริมาณการเดินทางมีมากทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทำให้ธุรกิจบริการที่พักเติบโตขึ้นหลายแห่ง

โรงแรม(hotel) เป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบัน รูปแบบบริการในโรงแรมได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักทั่วไปของนักท่องเที่ยว กลุ่มหรือเชน (chain) โรงแรมที่สำคัญ ได้แก่ International, Holiday Inn, Marriott, Sofitel, Hilton, Sheraton, Hyatt, Le Meridien เป็นต้น

ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
โรงแรมที่สำคัญในอดีต คือ
1. โอเรียลเต็ลโฮเต็ล

2. โฮเต็ลหัวหิน

3. โฮเต็ลวังพญาไท
4. โรงแรมรัตนโกสินทร์



ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม
· ความปลอดภัยของชีวิตละทรัพย์สินของผู้พัก
· ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก
· ความสะดวกสบาย
· ความเป็นส่วนตัว
· บรรยากาศที่ตกแต่งสวยงาม
· ภาพลักษณ์ของกิจการ


ประเภทที่พักแรม
1. โรงแรม เป็นที่พักแรมของนักท่องเที่ยวทั่วไป
เกณฑ์การจำแนกโรงแรม
· ด้านที่ตั้ง
· ด้านขนาด
· ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก
· ด้านราคา
· ด้านระดับการบริการ
· ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญลักษณ์
· ด้านการเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร
- โรงแรมอิสระ
- โรงแรมจัดการแบบกลุ่ม / เครือ หรือ เชน(chain)


2. ที่พักนักท่องเที่ยว
· บ้านพักเยาวชน หรือ โฮลเทล
· ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด
· ที่พักริมทางหลวง (โมเต็ล)
· ที่พักแบบจัดสรรเวลาที่พัก (Timesharing)
· เกสต์เฮาส์
· อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว หรือ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์
· ที่พักกลางแจ้ง
· โฮมสเตย์ หรือ ที่พักสัมผัสชีวิตชนบท


แผนกงานในโรงแรม
1. แผนกงานส่วนหน้า



2. แผนกงานแม่บ้าน
3. แผนกอาหารและเครื่องดื่ม
4. แผนกขายและการตลาด
5. แผนกบัญชีและการเงิน
6. แผนกทรัพยากรมนุษย์
ประเภทห้องพัก
- Single นอนคนเดียว


- Twin ห้องพักเตียงคู่แฝด เตียงวางแยกกัน


- Double ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่



- Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วย ห้องตั้งแต่ 2 ห้องขึ้นไป



ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่5 การคมนาคมขนส่ง


การคมนาคมขนส่ง จัดว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญทีช่วยให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวไปได้อย่างกว้างขวาง และถือได้ว่าเป็นธุรกิจหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ นอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่า การคมนาคมขนส่งเป็นธุรกิจที่มีผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การคมนาคมขนส่ง หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆภายใต้และราคาที่ตกลงกันไว้
· เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการขนส่ง (คน สัตว์ สิ่งของ) จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
· การขนส่งนั้นต้องอาศัยอุปกรณ์ต่างๆ (ยานพาหนะ)
· การขนส่งนั้นต้องเป็นไปตามความต้องการของผู้ที่ต้องการใช้บริการ


พัฒนาการขนส่งทางบก


- เริ่มขึ้นสมัยยุคบาบิโลน (200 ปีก่อนคริสตกาล)
- มีการประดิษฐ์รถม้าโดยสารขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ
- ต้นศตวรรษที่ 18 มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาการขนส่งทางเรือและรถไฟ
- ปี ค.ศ. 1920 มีการคิดค้นและประดิษฐ์รถยนต์ขึ้น ปัจจุบันนี้ การเดินทางโดยรถยนต์ถือได้ว่า เป็นการเดินทางท่องเที่ยวทางบก ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก


พัฒนาการขนส่งทางน้ำ


- การขนส่งทางน้ำ เป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
- ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีการพัฒนาเรือให้สามารถนำมาใช้หาปลาตามชายฝั่งในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- ชาวฟินิเชียน ได้ใช้เรือในการเดินทางขนส่งทางน้ำเป็นครั้งแรก
- การขนส่งผู้โดยสารทางเรือเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1772 ในประเทศอังกฤษระหว่างเมือง Manchester และ London Bridge
- เรือสำราญ Princesses Victoria Louis เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว และเป็นที่มาของเรือยอรซ์ราคาแพง
- เรือที่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรเป็นครั้งแรกได้คือ เรือกลไฟ Savannah
- บริษัท Star Curies เป็นสายการเดินเรือที่ใหญ่สายหนึ่งของโลก
- ในประเทศไทย มีบริษัทเรือสำราญของคนไทย 2 บริษัท คือ บริษัทซีทราน ควีน กับ บริษัท สยามครูซ จำกัด
- โดยเรือ Seatran Queen ให้บริการฝั่งอ่าวไทย ส่วนเรือ Andaman Prince ให้บริการในบริเวณอ่าวอันดามัน


พัฒนาการขนส่งทางอากาศ


- สองพี่น้องตระกูล Wright ได้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องบินเป็นครั้งแรก
- เที่ยวบินทางด้านธุรกิจเกิดขึ้นครั้งแรกระหว่างประเทศ London และ Paris
- มีการจัดตั้งบริษัทสายการบินแห่งชาติ เช่น B.A. (British Airways ของอังกฤษ) AF (Air France) ของฝรั่งเศส LH (Lufthansa Germanของเยอรมัน)
- เที่ยวบินให้บริการในการขนส่งผู้โดยสารได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างเมือง Boston และ New York และเริ่มมีการจ้างพนักงานบนเครื่องบิน


ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
1. ธุรกิจการขนส่งทางบก
2. ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
3. ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ


หลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจของทางด้านการขนส่ง
1. ยานพาหนะควรเหมาะสมกับชนิดของการเดินทาง
2. ยานพาหนะควรเหมาสมกับสภาพปริมาณของผู้โดยสาร
3. ความสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้ประกอบการธุรกิจประเทศอื่นๆ เช่น สถานีต่างๆ สนามบิน เป็นต้น
4. ยานพาหนะควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกตามลักษณะการเดินทางและชนิดของพาหนะ
5. บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่บนยานพาหนะควรได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และบริการด้วยความเต็มใจ


ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร

บทที่4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


แหล่งท่องเที่ยว สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหรือประกอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนองตอบต่อจุดประสงค์ด้านความพึงพอใจ หรือด้านนันทนาการ อาจเป็นสถานที่ใดที่หนึ่งเฉพาะ หรือหลายๆ ที่ก็ได้ มีทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือเป็นแหล่งธรรมชาติ
ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและประกอบกิจกรรมนันทนาการ อันนำมาซึ่งความพึงพอใจและความสุขในรูปแบบต่างๆ ได้

จุดหมายปลายทาง (Destination)
หมายถึง สถานที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจง หรืออาจจะเป็นสถานที่ ทั่วๆไป หรืออาจเป็นหลายๆ สถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง

สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Tourist Attraction)
หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ

ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
Scope ขอบเขต
- Primary Destination
- Secondary Destination
Owner ความเป็นเจ้าของ
- Government
- Non Profit Organization
- Private
Permanency ความคงทนถาวร
- Sites
- Festivals or Events
Drawing Power ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว

การแบ่งประเภทแหล่งท่องเที่ยว ตามการแบ่งของ ททท.


แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ คือสถานที่ที่เกิดเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ทรัพยากรประเภทนี้ไม่ต้องมีต้นทุนทางการผลิต แต่ยังคงต้องมีต้นทุนในการรักษาดูแล อาทิเช่น ป่าไม้ เขื่อน ภูเขา น้ำตก ชายหาด ทะเล และเกาะแก่ง อุทยานแห่งชาติ (National Park) อุทยานแห่งชาติทางบก
อุทยานแห่งชาติทางทะเล วนอุทยาน (Forest Park)


แหล่งท่องเที่ยวประเภทมนุษย์สร้างขึ้น ประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ โดยมีวัตถุ ประสงค์ในการสร้าง และอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันไป แต่ท้ายที่สุดก็กลายเป็น ทรัพยากรอันมีค่าทางการท่องเที่ยวของประเทศ
กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7 ประเภทได้แก่


- โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ คือ สถานที่ที่มีความสำคัญสูงสุด หากชาติขาดซึ่งโบราณสถานนี้ไปจะเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง

- อนุสาวรีย์แห่งชาติ คือ อนุสรณ์ที่ได้สร้างเพื่อบุคคลหรือเรื่องราวสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์หรือเป็นที่เคารพอย่างสูงในชาติ ซึ่งประชาชนจะต้องร่วมรำลึกถึงด้วยกัน


- อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ คือ อาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมอันทรงไว้ซึ่งคุณค่าอย่างสูงทางศิลปะ อันแสดงถึงการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ในยุคอดีตที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันหรือเกี่ยวพันกับบุคคลสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญของชาติ


- ย่านประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีความหนาแน่นทางสถาปัตยกรรมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การวางผังเมือง และสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น โดยมีอาคาร สิ่งก่อสร้าง ถนนหนทางและองค์ประกอบอื่นๆ ในพื้นที่รวมอยู่ด้วย ทำให้พื้นที่นั้นจัดอยู่ในลักษณะต่อไปนี้ ย่านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ย่านประวัติศาสตร์การพาณิชย์ ย่านประวัติศาสตร์อุตสาหกรรม ย่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ย่านโบราณคดี


- อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึงพื้นที่ที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมรวมกับสภาพแวดล้อมทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น อันทำให้สาระทางประวัติศาสตร์ยังคงดำรงไว้ได้


- นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ หมายถึง เมืองหรือนครที่มีแบบอย่างทางวัฒนธรรม การวางผังเมือง สาระสำคัญทางประวัติศาสตร์ และองค์ประกอบของเมือง สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และชีวิตความเป็นอยู่



- ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึง แหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์และซากโบราณสถาน ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่งของชาติในอดีต

แหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
"วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม" วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร ต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมคือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อน ๆ มีการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบ หรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเลือนหายไป วัฒนธรรมที่เป็นแนวความคิด ความเชื่อ เป็นนามธรรมล้วน ๆ แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็น ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้

มรดกโลก (World Heritage) ในประเทศไทย
• มรดกโลกในประเทศมี 5 แห่งด้วยกัน คือ
• ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1991

• อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปี ค.ศ. 1991


• อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ปี ค.ศ. 1991


• แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ค.ศ. 1992

• ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ปี ค.ศ. 2005


ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร