วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือเรียกสั้นๆ ว่า "อยุธยา" ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นเมืองหลวงเก่าของไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระราคมธิบดีที่ 1 ในเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง นับเป็นราชธานีของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย



ภูมิประเทศ
อยุธยาเป็นที่ลุ่ม ไม่มีภูเขา แต่มีแม่น้ำสายใหญ่คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกันในลักษณะล้อมรอบเมือง ตัวจังหวัดเป็นเกาะที่มีบ้านเรือนปลูกเรียงรายหนาแน่นตามสองข้างฝั่งแม่น้ำ อยุธยาห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 76 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,556 ตรกม. การปกครอง มี 16 อำเภอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอท่าเรือ และอำเภอวังนัอย



อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสระบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี


ตลอดระยะเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้เพียงเป็นช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของชนชาติไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวลมนุษย์ชาติ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะถูกทำลายเสียหายจากการสงครามจากประเทศเพื่อนบ้านและจากน้ำมือการบุกรุกขุดค้นของพวกเรากันเองแล้ว ส่วนที่ปรากฏ ในปัจจุบันนี้ยังมีร่องรอยหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นอัจฉริยภาพ และความสามารถยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษแห่งราชอาณาจักรผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรือง ทางศิลปวัฒนธรรมและความมั่งคั่งไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทยหรือแม้แต่ชาวโลกทั้งมวล ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า ยูเนสโก้(UNESCO) โดยคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งใจกลางกรุงศรีอยุธยาที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ซึ่งจะมีผลให้ได้รับความคุ้มครอง ตามอนุสัญญาที่ประเทศต่างๆ ได้ทำร่วมกัน จึงสมควรที่อนุชนคนรุ่นหลังน่าที่จะ ได้ไปศึกษาเยี่ยมชมเมืองหลวงเก่าของเราแห่งนี้ สถานที่ท่องเที่ยวของพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถานได้แก่ วัดและพระราชวังต่างๆ พระราชวังในพระนครศรีอยุธยามีอยู่ 3 แห่ง คือ พระราชวังหลวง วังจันทรเกษมหรือวังหน้า และวังหลัง นอกจากนี้ยังมีวังและตำหนักซึ่งเป็นที่สำหรับเสด็จประพาสอยู่นอกพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ พระราชวังบางปะอิน และตำหนักนครหลวง ที่อำเภอนครหลวง

เทศกาลอยุธยา
งานแสดงแสงเสียงอยุธยามรดกโลก เนื่องจากนครประวัติศาสตร์พระครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศโดยองค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลก ทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ทางจังหวัดจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองทุกปี ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นระยะเวลา 7 วัน ในงานจะมีการแสดงชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปหัตถกรรม วัฒนธรรมและประเพณีของไทย รวมทั้งการแสดง แสงเสียงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา


งานประจำปีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดเป็นประจำทุกปี ปลายเดือนมกราคมภายในบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร มีการแสดง และประกวดผลงานด้านศิลปาชีพ สินค้าพื้นเมืองทั่วไป การแสดงศิลปวัฒนธรรมอันงดงามงานเทศกาลสงกรานต์ จัดในวันที่ 13 เมษายน เป็นประจำทุกปี หน้าวิหารพระมงคลบพิตร อำเภอพระนครศรีอยุธยามีขบวนแห่ตามประเพณีของชาวอยุธยาและ ขบวนแห่เถิดเทิง สรงน้ำพระมงคลบพิตรจำลอง ประกวดนางสงกรานต์พิธีไหว้ครูบูชาเตา เป็น "พิธีไหว้ครู" ช่างตีมีดตีดาบ ของชาวบ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนอง และบ้านสาไล ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง ซึ่งมีอาชีพในการตีมีดที่รู้จักกันทั่วไปว่า "มีดอรัญญิก" บรรพชนของชาวบ้าน ไผ่หนองและบ้านต้นโพธิ์ ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวงนั้นเป็นชาวเวียงจันทน์ เข้ามาตั้งรกรากอยู่ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีอาชีพในการตีทองและตีเหล็ก แต่ต่อมาเลิกทำทอง จึงเหลือแต่ การตีเหล็กอย่างเดียว เหล็กที่ตีนี้ส่วนใหญ่ทำเป็นมีด ดาบ และอาวุธ ตลอดจนเครื่องใช้อื่นๆ ซึ่งมีคุณภาพดีมากเมื่อทำเสร็จแล้วก็นำมาขายที่หมู่บ้านอรัญญิก ตำบลปากท่า อำเภอท่าเรือ จึงเรียกว่ามีด "อรัญญิก" สิ่งที่ชาวตำบลท่าช้างทุกคนยังคงถือสืบต่อมาตามขนบประเพณีเดิมคือการ "ไหว้ครูบูชาเตา" ซึ่งทุกบ้านจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 7 ค่ำ 9 ค่ำ ฯลฯ เดือน 5 (ประมาณเมษายน-พฤษภาคม) ตามแต่ความสะดวก เพื่อระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์และเพื่อความเป็นสิริมงคลของตน ทั้งยังเป็นการปัดเป่าอุปัทวเหตุต่างๆ ในการตีเหล็กอีกด้วยงานลอยกระทงตามประทีปและแข่งเรือยาวประเพณีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดเป็นประจำทุกปี ปลายเดือนพฤศจิกายน ภายในบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทรมีการประกวดนางนพมาศ ประกวดขบวนแห่ ประกวดกระทง ประกวดโคมแขวน การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน การแข่งเรือยาวประเพณี เรือยาวนานาชาติ การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ


ของฝาก ที่ระลึก จ.อยุธยา
ของฝากอยุธยาตลาดกลางเพื่อเกษตรกร ตั้งอยู่ริมถนนสายเอเซีย หากขับรถข้าม สะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปทางฝั่งตะวันออก ของเกาะเมืองจนถึงถนนสายเอเซีย เลี้ยวซ้ายตรงไปถึงตำบลหันตราทางขวามือ จะพบกับสถานที่ จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิดของจังหวัด เช่น มีดอรัญญิกแท้จากอำเภอนครหลวง พัดสานจากอำเภอบ้านแทรก เครื่องแกะสลักของอำเภอพระนครศรีอยุธยา เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากอำเภอบางปะอิน ปลาร้า ปลาแห้ง และผลไม้กวนทุกชนิด ตลอดจนของขวัญ ของฝากหลากหลายจากทุกอำเภอ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารซึ่งมี กุ้งปลาสดๆ รสชาติอร่อยอยู่หลายร้านบริเวณวิหารพระมงคลบพิตรและบริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร มีร้านค้ามากมายหลายร้าน จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิด เช่น เครื่องจักสานมีดอรัญญิก ผลไม้กวน และขนมชนิดต่างๆ





วัดไชยวัฒนาราม
"พระอารามหลวงคู่เมืองอยุธยา"


วัดไชยวัฒนาราม เป็นพระอาราม หลวงสมัยอยุธยา ที่สร้างขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์แห่งกรุง ศรีอยุธยาองค์ที่ 24 ซึ่งเป็นยุคที่ศาสนาเจริญรุ่งเรือง สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นเมื่อ พ.ศ.2137 ในบริเวณนิวาส ถานของพระราชชนนีเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา วัดตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำ เจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตกของเกาะเมือง ตรงข้ามกับพระตำหนักสิริยาลัย ต.บ้าน ป้อม อ.พระนครศรี อยุธยา



เดิมวัดไชยวัฒนาราม มีชื่อว่า “วัดชัยวัฒนาราม” ซึ่งสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือกรุงละแวก (พนมเปญในสมัยนั้น) จึงใช้คำว่า “ชัย” ที่หมายถึงชัยชนะ แต่ต่อมาได้เปลี่ยน เป็น “วัดไชยวัฒนาราม” เพราะคำว่า “ ไชย” หมายถึงไชโย เป็นการประกาศความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และครอบคลุม รวมทั้งหมดรวมถึงชัยชนะ ด้วย
สำหรับการสร้างวัดนั้น สมเด็จพระเจ้าปราสาททองซึ่งเป็น กษัตริย์สมัยอยุธยาตอนปลายทรงสร้างปรางค์ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด เท่ากับเป็น การรื้อฟื้นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด เนื่องจาก พระองค์ทรงได้เมืองเขมรมาอยู่ใต้อำนาจ จึงได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมขอมเข้ามาใช้ใน การสร้างพระปรางค์ของวัดไชยวัฒนารามนี้ด้วย โดยตั้งใจจำลองแบบมาจากปราสาทนคร วัด ในประเทศ กัมพูชา

พระปรางค์ประธานนั้นมีชื่อว่า “พระปรางค์ศรี รัตนมหาธาตุ” ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่มุมฐานมีปรางค์ทิศ ประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมี หลังคา แต่ปัจจุบันพังทลายลงมาแล้ว ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทรายที่เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ เป็นเสมือนกำแพง เขตศักดิ์สิทธิ์ แต่ปัจจุบันพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยเหล่านั้นนั้นไม่มี เศียร เพราะถูกขโมยตัดเศียรไปขาย และหาสมบัติที่เล่ากันว่าซ่อนอยู่ภายในพระพุทธ รูป
และที่แปลกจากวัดอื่นๆอีกก็คือที่นี่มีใบเสมาที่ทำด้วยหินสี เขียว ซึ่งคล้ายกับหินดินดำแต่มีสีเขียว แกะสลักเป็นลวดลายประจำยาม 4 แฉกเหมือน ดอกไม้ นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถที่สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอก ระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้างๆมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง และมีปรางค์เจดีย์ ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นมาในภายหลัง




ความสำคัญของวัดนี้นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสวยงามและมีการ ก่อสร้างไม่เหมือนวัดอื่นๆแล้ว วัดนี้ยังเป็นที่ฝังศพของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง พระราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและกวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลาย และเจ้าฟ้าสังวาลย์ ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวบรมโกศ เนื่องจากเจ้าฟ้ากุ้งไปรักกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ พระชายาในพระเจ้าอยู่ หัวบรมโกศ คนกรุงเก่าเล่าว่า เพลาใดที่เป็นคืนเดือนเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงอาจจะ ได้เห็นชายหญิงแต่เครื่องกษัตริย์มาเดินอยู่ในวัดแห่งนี้
และยังมีเรื่องเล่ากันว่า สมัยก่อนคนมักศึกษาด้านไสยศาสตร์ คาถาอาคม และเมื่อคราวก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่าย ตั้งรับศึก ทหารที่ต้องออกศึกสงครามก็เป็นห่วงครอบครัว ลูกเมียที่บ้าน เกรงว่า จะเกิดภัยอันตรายจึงได้ใช้คาถาอาคมผนึกบ้านเรือนของตนไว้ พรางตามิให้ข้าศึก ศัตรูเห็นได้ ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านในละแวกวัดไชยฯ ก็เคยเห็นทหารใส่ชุดนักรบ โบราณปรากฏตัวให้เห็นบ่อยครั้ง บ้างก็ถ่ายรูปที่วัดไชยฯ แล้วติดรูปหญิงสาวในชุดไทย จนเรื่องเล่าเหล่านี้ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครเรื่อง “ เรือนมยุรา” ซึ่งจะจริงแท้ประการใดก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล




แต่อย่างไรก็ตาม วัดไชยวัฒนารามแห่งนี้ก็ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอยุธยา ที่ยังคงความงดงามและเสน่ห์ของพระอาราม เมืองกรุงเก่าไว้เช่นเดิม


1 ความคิดเห็น: