วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว

แรงจูงใจ
แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึงเครือข่ายทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังทางชีววิทยา(Network) ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางการท่องเที่ยว

ทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว


1. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierarchy of needs)
Maslow กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อที่จะสนองตอบความต้องการนั้น และความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้น เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกระดับหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่ แนวคิดนี้ถูกนำเสนอเป็นปิระมิด 5ชั้น คือ ความต้องการทางด้านสรีระวิทยา ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ความต้องการด้านสังคม ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียงและความต้องการความสำเร็จแห่งตน

2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)
Philip Pearce ประยุกต์จากทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็นของ Maslow แต่ความแตกต่างอยู่ตรงที่ในลำดับขั้นที่1 หรือความต้องการทางสรีระวิทยา ถึงขั้นที่4 หรือความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงนั้น ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นทั้งจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง และมีอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น ยกเว้น ความต้องการในขั้นสูงสุดหรือความต้องการความสำเร็จแห่งตน(ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด) เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง

3. แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda)ของ Cromton
มี 7ประเภท ดังต่อไปนี้
1. การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ
2. การสำรวจและการประเมินตนเอง
3. การพักผ่อน
4. ความต้องการเกียรติภูมิ
5. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6. กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7. การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม

แรงจูงใจในการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke


1. แรงจูงใจทางด้านสรีระวิทยาหรือทางกายภาพ
2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
4. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ
5. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6. แรงจูงใจส่วนบุคคล


แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
Pearce, Morrison และ Rutledge ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการ ดังต่อไปนี้
1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะสร้างเสริมสัมพันธ์ภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนในการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบการขนส่ง และระบบสาธารณสุข

1. ระบบไฟฟ้า
- มีใช้อย่างเพียงพอ ทั่วถึง และใช้การได้ดี
- เตรียมอุปกรณ์สำหรับปั่นไฟไว้ให้เพียงพอ
- กำหนดเวลาปิด-เปิดไฟฟ้า เพื่อประหยัดพลังงาน
- มีการวางแผนการใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม
- ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

2. ระบบประปา
- มีความสะอาด
- ถูกหลักอนามัย
- มีปริมาณเพียงพอ
- มีการกระจายอย่างทั่วถึง


3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
- โทรศัพท์มีสาย ไร้สาย ไปรษณีย์ โทรเลข E-mail
- สะดวก รวดเร็ว
- มีหน่วยบริการที่เพียงพอ และกระจายอย่างทั่วถึง

4. ระบบการขนส่ง


- ทางอากาศ ควรจัดให้มีเส้นทางการคมนาคมภายในประเทศครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ควรพยายามเชื่อมโยงเส้นทางการบินอย่างทั่วถึง และควรพัฒนาให้มีความเชื่อมโยงกับระบบคมนาคมอื่นๆ ในส่วนของท่าอากาศยานควรจัดสร้างในพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ มีมาตรฐานในการจัดการ และง่ายต่อการเข้าถึง ควรจัดสร้างให้มีความสะดวกสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านให้เช่ารถยนต์ เป็นต้น



- ทางบก หมายถึง เส้นทางถนนและเส้นทางรถไฟต่างๆ ซึ่งควรจัดให้มีครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยว ละมีความเชื่อมโยงกันให้มากที่สุด รวมทั้งต้องให้มีความเชื่อมโยงกับระบบคมนาคมอื่นๆด้วย สภาพของถนนและรางรถไฟต้องมีคุณภาพดี เหมาะสมกับท้องถิ่น และมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้น ควรมีการจัดสร้างสถานีขนส่งหรือสถานีรถไฟฟ้าที่มีมาตรฐานสากล ง่ายต่อการเข้าถึง




- ทางน้ำ หมายถึง เส้นทางเดินทางทางน้ำ ควรพัฒนาเส้นทางเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำให้มีความเหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยว และสภาพกายภาพของเส้นทางน้ำต่างๆ และควรพัฒนาให้มีความเชื่อมโยงกับระบบคมนาคมอื่นๆ นอกจากนั้น ควรจัดให้มีท่าเรือที่ได้มาตรฐานในบริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และท่าเรือควรง่ายต่อการเข้าถึง ควรจัดสร้างให้มีความปลอดภัยสูงและมีความสะดวกสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านให้เช่าอุปกรณ์ดำน้ำ เป็นต้น


5. ระบบสาธารณสุข
- ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
- ควรมีสถานพยาบาลใกล้กับแหล่งท่องเที่ยว
- มี่ความพร้อมในการเตรียมยาหรือการรักษาอาการบาดเจ็บ

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
-ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว


-ลักษณะภูมิประเทศ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ที่ไม่เท่ากันในแต่ละภูมิภาค ลักษณะภูมิประเทศจึงแตกต่างกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจากภายในเปลือกโลก ทำให้เกิดภูเขา การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก ทำให้เกิด เนินทราย เป็นต้น
-ลักษณะภูมิอากาศ เป็นผลมาจากสถานที่ตั้งของแต่ละภูมิภาคที่อยู่ตามเส้น ละติจูดที่แตกต่างกัน ทำให้ภูมิอากาศมีความแตกต่างกัน



-ปัจจัยทางวัฒนธรรม ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวได้เช่นกัน

ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น